ข่าวประชาสัมพันธ์
งานวิจัย : การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD
ชื่อเรื่อง    การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD
              เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย   นางนิภา  พิศลืม
โรงเรียน   หนองทุ่มศรีสำราญวิทยา  อำเภอวังหิน  จังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่วิจัย     ปีการศึกษา 2559 - 2560

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
    การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ขั้นตอนที่ 3 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนหนองทุ่มศรีสำราญวิทยา อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 32 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย 1)  แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.79 2)  แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ 4 เล่ม 3) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14 แผน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายรายข้อตั้งแต่ 0.60 ถึง 0.69  ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.65 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.37 ถึง 0.78 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test แบบ Dependent Samples

    ผลการวิจัยพบว่า  
    1.ผลจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
        1.1 สภาพการจัดการเรียนรู้ของครูชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง
        1.2 ปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เป็นปัญหาของครู โดยภาพรวม มีปัญหามาก ได้แก่ ครูขาดนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ และ ครูขาดการพัฒนาเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ๆ ปัญหาที่เกิดจากนักเรียน โดยภาพรวมมีปัญหาในระดับมาก
        1.3 ความต้องการของครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
        1.4 ปัญหาในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ได้แก่ ครูสอนจริงจัง ไม่ใช้สื่อในการสอน ให้ทำแบบฝึกหัดส่งทุกครั้ง ทำให้เครียด ครูเข้มงวดทำให้บรรยากาศในการเรียนเครียด ไม่อยากเรียน นักเรียนได้เสนอความต้องการที่จะเรียนวิชาคณิตศาสตร์อย่างมีความสุข โดยให้ครูจัดหาสื่อการสอนที่หลากหลาย เพื่ออธิบายเนื้อหาวิชาให้เข้าใจ
    2.ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลการประเมินประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1)  ได้ค่าประสิทธิภาพ 81.17 และผลการประเมินประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ (E2) ได้ค่าประสิทธิภาพ 78.85 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 75/75 แสดงว่าแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นี้สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    3.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า หลังเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    4.ความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
โพสเมื่อ : 02 มี.ค. 2562,05:52   อ่าน 2008 ครั้ง